อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ เป็นเหตุการณ์ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจำนวน 6 เครื่องแยกกัน บำรุงรักษาโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ผู้เชี่ยวชาญมองว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่สองตามหลังอุบัติภัยเชอร์โนบิล แต่มีความซับซ้อนกว่าเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดได้รับผลกระทบ

ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นนั้น เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 ถูกนำแท่งเชื้อเพลิงออก ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่ 5 และ 6 ถูกดับเครื่องสนิทตามกำหนดบำรุงรักษา เครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินเริ่มผลิตพลังงานเพื่อทำงานอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมและปั๊มน้ำที่จำเป็นสำหรับใช้ลดอุณหภูมิ โรงไฟฟ้าได้รับการป้องกันจากกำแพงกันคลื่นที่สามารถทนรับคลื่นสึนามิความสูง 5.7 เมตรได้ แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหว 15 นาทีนั้น สูงถึง 14 เมตร ผลกระทบทำให้โรงไฟฟ้าทั้งหมดถูกน้ำท่วม รวมทั้งเครื่องปฏิกรณ์ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนักและในส่วนสวิตช์เกียร์ไฟฟ้าในฐานของเครื่องปฏิกรณ์ด้วย นอกจากนี้ การเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าพังเสียหาย พลังงานทั้งหมดที่ใช้สำหรับหล่อเย็นจึงสูญเสียไปและเครื่องปฏิกรณ์เริ่มมีความร้อนเกินจากการสลายตัวของสารที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นที่เกิดขึ้นก่อนดับเครื่อง ความเสียหายจากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวทำให้การนำความช่วยเหลือมาจากที่อื่นประสบความยากลำบาก
ต่อมาได้มีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนเกิดการหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนได้ทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ที่ 1, 3 และ 4 แรงระเบิดได้ทำลายวัสดุคลุมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้ขึ้นหลายจุดที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 นอกเหนือจากนี้ แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วซึ่งถูกเก็บไว้ในบ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1-4 เริ่มมีความร้อนเกินเนื่องจากระดับน้ำในบ่อลดลง ด้วยเกรงว่าจะเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสี จึงนำไปสู่การอพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้า คนงานซึ่งทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าได้รับปริมาณรังสีเข้าไปและถูกอพยพชั่วคราวหลายครั้ง โรงไฟฟ้าบางส่วนกลับมามีพลังงานอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม แต่เครื่องจักรกลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เพลิงไหม้และการระเบิดยังคงไม่สามารถใช้การได้ในช่วงแรก ทางการญี่ปุ่นได้จัดภัยพิบัตินิวเคลียร์ดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 4 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES) ถึงแม้ว่าองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ จะมองว่าควรจะจัดให้อยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ ต่อมาระดับดังกล่าวถูกเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 5 และ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ตามลำดับ

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ผู้วางระเบียบด้านนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นประกาศว่า น่าจะมีรอยแตกเกิดขึ้นในหม้อความดันห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ที่ 3 (ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม) ซึ่งทางการสงสัยว่าอาจเกิดรอยร้าวและการรั่วไหลของกัมมันตรังสี การตรวจวัดฝุ่นกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยจากเครื่องปฏิกรณ์ทั่วโลกได้รับรายงานโดยนิวไซแอนทิสว่า "ใกล้เคียงกับระดับของเชอร์โนบิล" มีการรายงานว่าองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์วัดระดับของไอโอดีน-131 ที่ 73% และซีเซียม-137 อยู่ที่ 60% ของระดับที่ปลดปล่อยออกมาจากหายนะเชอร์โนบิล การตรวจวัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นในพื้นที่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นในรัศมี 30-50 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า พบว่าระดับซีเซียมกัมมันตรังสีสูงพอที่จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่ผลิตขึ้นในพื้นที่ถูกห้ามวางจำหน่าย เจ้าหน้าที่ทางการโตเกียวแนะนำเป็นการชั่วคราวว่าน้ำประปาไม่ควรจะใช้เพื่อเตรียมอาหารสำหรับทารก การปนเปื้อนพลูโตเนียมถูกตรวจพบในพื้นดินบริเวณสองจุดในโรงไฟฟ้า
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม TEPCO ระบุว่า สามารถตรวจวัดกัมมันตรังสีได้มากกว่าระดับปกติถึง 10 ล้านเท่า (1,000 มิลลิซีเวอร์ต/ชั่วโมง) ในน้ำที่สะสมไว้ในโข่งไอเสียของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2 คนงานกำลังปั๊มน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีออกจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2 ถูกอพยพเพื่อป้องกันการได้รับกัมมันตรังสีเพิ่มเติม

ผู้นำประเทศหลายคนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภัยพิบัติดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นและ TEPCO ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับการสื่อสารที่ไม่ค่อยดีแก่สาธารณชน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม เลขานุการคณะรัฐมนตรี ยูคิโอะ เอดาโนะ ประกาศว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะถูกปิดเมื่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง

ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์


การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 
(Electricity Generation by Nuclear Power)
การผลิตไฟฟ้า (The Generation of Electricity)
พลังงานส่วนใหญ่ที่เรานำมาใช้งาน ผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากร หรือแหล่งพลังงาน ที่มาจากธรรมชาติ
เช่น ถ่านหิน กาซธรรมชาติ น้ำมัน น้ำ ลม แสงอาทิตย์ และนิวเคลียร์ บางส่วนของพลังงานเหล่านี้
ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และนำไปใช้ด้านอื่น เช่น การขนส่ง โรงไฟฟ้าใช้ความร้อนหรือแรง
ขับเคลื่อนจากพลังงานเหล่านี้ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งที่สะอาดที่สุด
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ พลังงานนิวเคลียร์
การทำงานของโรงไฟฟ้า (Operation)
โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการต้มน้ำเพื่อผลิตไอน้ำ และใช้แรงดันไอน้ำในการหมุน
กังหัน
ซึ่งใช้แกนเดียวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ที่เป็นขดลวดขนาดใหญ่ วางอยู่ระหว่างแท่ง
แม่เหล็ก
 การหมุนของขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ข้อแตกต่างหลัก
ของโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์ กับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น คือแหล่งความร้อนที่ใช้ผลิตไอน้ำ
ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ได้ความร้อนมาจากปฏิกิริยาการแตกตัวของอะตอมของธาตุ ขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้ น้ำมัน
กาซธรรมชาติ
 หรือถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง ใช้วิธีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ในการผลิตความร้อน
ชนิดของโรงไฟฟ้า (Types of Plants)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ในสหรัฐอเมริกา มี 2 ชนิด ได้แก่ โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์
นิวเคลียร์
แบบใช้น้ำความดันสูง (pressurized water reactor, PWR) และ โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์
นิวเคลียร์แบบ
น้ำเดือด (boiling water reactor, BWR) ทั้งเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ BWR และ PWR ผลิตความร้อน
ออกมา
ด้วยวิธีการเดียวกัน โดยน้ำเดือดจากเครื่องปฏิกรณ์ฯ จะกลายเป็นไอและส่งไปขับกังหัน ของเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้า จากนั้นจะถูกควบแน่นให้กลับเป็นน้ำ และปั๊มกลับเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์ฯ
เพื่อรับความร้อนทำให้
กลายเป็นไอน้ำอีกครั้ง สิ่งที่แตกต่างกันคือ ในเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ BWR น้ำจะถูกทำให้
เดือดและกลาย
เป็นไอขณะที่ผ่านแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ PWR น้ำที่ผ่านแกนเครื่อง
ปฏิกรณ์จะ
ไม่เดือด เนื่องจากอยู่ในระบบปิดที่มีความดันสูง ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนให้ระบบผลิตไอน้ำ
ในส่วนที่แยก
ออกจากระบบของเครื่องปฏิกรณ์ฯ
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบอื่น มีใช้อยู่ในต่างประเทศ เช่น (pressurized heavy water reactor,
PHWR หรือ CANDU) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตโดยแคนาดา ใช้เชื้อเพลิงเป็นยูเรเนียมธรรมชาติ
ถ่ายเทความร้อน
โดยใช้น้ำมวลหนัก (heavy water)

ความปลอดภัย (Safety)
ความปลอดภัยเป็นปัจจัยหลักที่ผู้รับผิดชอบเครื่องปฏิกรณ์ต้องคำนึงถึง เพื่อทำให้เกิดความ
มั่นใจในความปลอดภัยต่อสาธารณชน ความปลอดภัยต่อผู้ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯ
และต่อผู้ลงทุน ดังนั้นการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จึงต้องมีการพัฒนาให้อยู่ในมาตร
ฐานอุตสาหกรรม
มาตรฐานอุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้การดูแลของ
องค์กรวิชาชีพ เช่น สมาคมวิศวกรรมเครื่องกล (American Society of Mechanical Engineers)
ได้ร่วมกันกำหนดมาตรบานที่ดีที่สุด ในการออกแบบ การก่อสร้าง และการปฏิบัติงาน
ซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาหลายสิบปี
การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีหลายขั้นตอน ต้องคัดเลือกสถานที่ที่เหมาะสม
ต้องออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานที่ก่อสร้าง
ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนขณะที่ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
การทดสอบเดินเครื่องที่กำลังต่ำ และสุดท้ายเดินเครื่องเต็มกำลัง แต่ละขั้นตอน ผู้ออกแบบต้องมั่น
ใจว่ามีการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัย
นอกจากนั้น หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต (Nuclear Regulatory Commission, NRC)
จะตรวจสอบแต่ละกระบวนการ และประเด็นในการขออนุญาต โดยจะให้การอนุญาตเป็นรายประเด็น
 ตามความก้าวหน้าของ
งาน เมื่อไม่นานมานี้ NRC ได้มีการทบทวนมาตรฐานอุตสาหกรรม
และได้ออกข้อกำหนดฉบับใหม่ ซึ่งมาตรฐานที่ออกโดย NRC มีฐานะเทียบเท่ากับกฎหมาย
ทั้งนี้เพื่อให้เชื่อมั่นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ก่อ
สร้างใหม่ทุกโรง จะมีกระบวนการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด
ประโยชน์ที่ได้/ผลกระทบ (Benefits / Effects)
ไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญกับเรา โดยเป็นสิ่งที่ใช้ช่วยเพิ่มการผลิต ใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวก
 ทำให้เกิดความปลอดภัย ใช้ด้านสุขภาพ และในทางเศรษฐกิจ เราใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าใน
ชีวิตประจำวันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เพียงแต่เสียบปลั๊กของอุปกรณ์ของเราเข้ากับ
ปลั๊กที่ผนังก็จะได้ไฟฟ้าออกมา คนส่วน
ใหญ่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงว่าไฟฟ้ามาจากไหน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าสามารถทำได้หลายวิธี
ทั้งการใช้ถ่านหิน น้ำมัน กาซธรรมชาติ พลังน้ำ นิวเคลียร์ และแสงอาทิตย์
แต่ละทางเลือกได้มีความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน
 จึงต้องมีการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย ก่อนที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าโรงใหม่
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า มีจุดเด่นตรงที่สามารถรองรับความต้องการที่กำลัง
มาถึงในกระบวนการผลิตไฟฟ้า คือการที่พลังงานนิวเคลียร์ สามารถสนองตอบต่อปัญหาทาง
ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เศรษฐศาสตร์ ความเชื่อมั่น ความมั่นคง รวมทั้งการจัดการกาก
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงไฟฟ้า สามารถวัดได้จากปริมาณเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้
การเกิดของเสียและกากที่เหลือ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
แหล่งเชื้อเพลิง (Fuel Delivery)
เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงฟอสซิล วัตถุดิบของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์มาจากใต้พื้นโลก
มีการทำเหมืองยูเรเนียมซึ่งเป็นวัสดุหลักของเชื้อเพลิง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองนั้น
ส่วนใหญ่เป็นที่ทราบกันดี พลังงานนิวเคลียร์ได้มาจากยูเรเนียมปริมาณไม่มาก
โดยยูเรเนียม 1 กิโลกรัม เทียบเท่ากับพลังงานที่ได้จาก น้ำมัน 100,000 กิโลกรัม จึงทำให้มี
การนำยูเรเนียมขึ้นมาจากพื้นโลกน้อยมาก เพื่อนำมาใช้ผลิตพลังงานที่เท่ากัน ดังนั้น ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองยูเรเนียม จึงน้อยกว่าการทำ
เหมืองหรือการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลมาก
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นของแข็ง ซึ่งต่างจากน้ำมันและกาซธรรมชาติ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จึงไม่สร้าง
ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการรั่วไหลในระหว่างการขนส่งไปยังโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ที่ยังไม่ใช้งาน มีรังสีสูงกว่าระดับรังสีธรรมชาติเล็กน้อย ถังบรรจุแท่งเชื้อเพลิงได้รับการออกแบบให้มี
ความปลอดภัยสูง สามารถเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ทำให้เกิดการเปรอะเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
การปล่อยของเสีย (Emissions)
ตรงข้ามกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ทำให้เกิดกาซคาร์บอนได
ออกไซด์หรือกาซซัลเฟอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก และฝนกรด
จากข้อมูลของสถาบันพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy Institute) ประเทศสหรัฐอเมริกา
การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสหรัฐ ทำให้ไม่มีการปล่อยกาซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5.1 ล้านตัน
ไนโตรเจนออกไซด์ 2.4 ล้านตัน และคาร์บอนไดออกไซด์ 164 ล้านเมตริกตัน
ออกสู่บรรยากาศในแต่ละปีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า ทำให้ระดับรัง
สีบริเวณรอบโรงไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้น แต่ค่าที่สูงขึ้นมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับระดับรังสีที่มีอยู่ใน
สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในโรงไฟฟ้าจะได้รับรังสีทุกคน
แต่ไม่เคยมีสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ปริมาณรังสีที่ได้รับสูงขึ้นเล็กน้อยนี้ จะมีผลในทางลบต่อสุขภาพ
ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น (Impact on Local Habitat)
เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีการทำงานเป็นระบบปิด สิ่งแวดล้อมของที่ตั้ง
โรงไฟฟ้าจึงยังคงสภาพเดิม ขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันและกาซธรรมชาติ ต้องตั้งอยู่ใกล้กับท่อ
ส่งเชื้อเพลิง ส่วนโรงไฟฟ้าพลังน้ำต้องตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ การเลือกที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเหล่านี้
จึงต้องหาทางประนีประนอมระหว่างผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
หรือผลกระทบต่อชุมชน ตัวอย่างเช่น การสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ทำให้เกิดการทำลายสัตว์น้ำ
เป็นจำนวนมาก รัฐจึงมีนโยบายจำกัดไม่ให้มีการสร้างเขื่อนขึ้นใหม่ และกำลังพิจารณาที่จะรื้อ
ถอนเขื่อนที่มีอยู่เดิมในสหรัฐอเมริกา สำหรับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น มีข้อบังคับที่เข้มงวด
ในการเลือกที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ที่จะต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อบริเวณโดยรอบน้อยที่สุด
การจัดการกาก (Waste)
แรงกดดันมากที่สุดที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์กำลังเผชิญอยู่ คือประเด็นเกี่ยวกับการจัดการกาก
กระบวนการผลิตทุกประเภทย่อมทำให้เกิดกากหรือขยะ กากนิวเคลียร์ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าแตกต่างจาก
ขยะอื่นตรงที่มีกัมมันตภาพรังสีสูง ซึ่งกากที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงนั้น เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะถูกเก็บรักษาไว้ในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ฯ ซึ่งจะมีการบำบัดกากเพื่อลดปริมาณและ
ผ่านกระบวนการสกัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ มีการพัฒนากระบวนการในการสกัดเพื่อแยกเชื้อเพลิง
ใช้แล้ว และธาตุที่มีกัมมันตภาพรังสีสูง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ กากที่เหลือจะผนึกเป็นก้อน ให้อยู่ในรูป
ของแก้วหรือเซรามิกส์ ซึ่งกากเหล่านี้ จะยังมีอันตรายอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 100 ปี ซึ่งเมื่อเปรียบ
เทียบกับกากของสารเคมี ที่มีอันตรายต่อธรรมชาติตลอดไป โดยไม่ลดอันตรายลงตามเวลา
กากนิวเคลียร์ในลักษณะนี้ยังถือว่ายอมรับได้มากกว่า ปัจจุบันยังไม่มีการใช้กระบวนการบำ
บัดกากนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีการคัดค้านจากฝ่ายการเมือง แต่การวิจัยยังคง
ดำเนินต่อไป เพื่อค้นหาวิธีใหม่ๆที่จะมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ความปลอดภัย (Safety)
อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกาะทรีไมล์ (Three Mile Island) ประเทศสหรัฐอเมริกา
และที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (Chernobyl) ในยูเครนนั้นเป็นที่ทราบกันดีแล้ว
นอกจากเหตุการณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีสถิติของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนี้
ประมาณ 16% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งโลกมาจากพลังงานนิวเคลียร์ และในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีคนได้รับอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ด้านพลเรือน
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามสถิติของ สำนัก
งานสถิติของสหรัฐ (U.S. Bureau of Labor Statistics) ในปี 2000 มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุของ
อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ เป็นจำนวนอุบัติเหตุที่ทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติงาน หรือเกิดอันตราย
คิดเทียบต่อชั่วโมงการทำงาน เท่ากับ 0.26 ต่อ 200,000 เมื่อเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ในภาคอุตสาหกรรมของเอกชน ซึ่งเท่ากับ 3.1 ต่อ 200,000 ในปี 1998
(เป็นตัวเลขล่าสุดเท่าที่มี)
ผลทางเศรษฐศาสตร์และความเชื่อมั่น (Economics and Reliability)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นการผลิตไฟฟ้าที่มีความประหยัดมากที่สุดวิธีหนึ่ง ต้นทุนของเชื้อเพลิง
นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งของศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า มีค่าค่ำกว่าต้นทุนของเชื้อเพลิงฟอสซิล
ถ้ารวมต้นทุนจากการลงทุนและส่วนประกอบอื่นทั้งหมดแล้ว ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องของ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่า
โดยเฉลี่ยการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ มีต้นทุนต่ำที่สุด ในปี 1999 ต้นทุนเฉลี่ยของ
การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ อยู่ที่ 1.83 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง โรงไฟฟ้าถ่านหิน
2.07 เซนต์ โรงไฟฟ้าใช้น้ำมัน 3.24 เซนต์ และโรงไฟฟ้าใช้กาซธรรมชาติ 3.52 เซนต์
ส่วนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ยังมีต้นทุนที่ไม่สามารถแข่ง
ขันได้ต้นทุนที่เกิดจากมาตรการควบคุมของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานิวเคลียร์นั้น
สูงกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยแหล่งพลังงานอื่น แต่ก็สามารถทำให้ลดลงได้ โดยทำให้เกิดความเชื่อมั่น
 ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่อง
โดยเฉลี่ยสูงกว่า 75% ของสมรรถนะ (capacity factors) ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถแข่งขันได้กับ
โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ ออกแบบมาให้เดินเครื่องตามที่กำหนด
ทำให้ต้องเดินเครื่องเต็มกำลัง ไม่ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเป็นเท่าใด โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
มีความเหมาะสมกว่าในกรณีที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่คงที่ เนื่องจากได้รับการออกแบบมา
ให้ผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงและสามารถปรับลดกำลังการเดินเครื่อง
ลงได้ และสามารถเดินเครื่องต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเติมเชื้อเพลิงเป็นเวลา 2 ปี
ความเจริญในอนาคตจะขึ้นกับการผลิตไฟฟ้าที่ไม่จำกัด เห็นได้ชัดว่า เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมีจำกัด
 จากประมาณการ เชื้อเพลิงฟอสซิลจะใช้ไปได้อีกไม่เกิน 100 ปี แต่ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว
อาจจะเป็นเวลาที่น้อยกว่านี้มาก และเห็นได้ชัดว่า พลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียน
 เช่น เอทธานอล นั้นยังมีความไม่แน่นอน ในการสนับสนุนการใช้พลังงานของโลก
ส่วนศักยภาพในการผลิตพลังงานของยูเรเนียมปริมาณเล็กน้อยนั้นสูงมาก เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จึง
สามารถอยู่ในลำดับที่จะนำมาใช้ ถ้ามีการจัดรูปแบบที่ดี พลังงานนิวเคลียร์สามารถใช้ในการผลิต
ไฟฟ้าให้แก่เราได้อีกหลายรุ่น การจัดรูปแบบที่ดี คือการใช้ (Breeder Reactor) การออกแบบ
การออกแบบ Breeder Reactor นั้น เมื่อมีการใช้เชื้อเพลิงไป จะมีเชื้อเพลิงชนิดใหม่เกิดขึ้นมา
เป็นผลพลอยได้ ปัจจุบัน มีการสร้าง Breeder Reactor ไม่กี่โรงเท่านั้น พลูโตเนียม
ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ คือเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้าแบบนี้
รัฐบาลจึงยังลังเลที่จะอนุมัติให้มีการก่อสร้าง แต่กระนั้น โดยหลักการของ Breeder Reactor
แล้ว สามารถลดราคาของเชื้อเพลิงให้ต่ำลงมาก การพยายามที่จะหาทางสกัดยูเรเนียม
ออกจากน้ำทะเล ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงจึงอาจมาจำเป็น จากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
American Journal of Physics (vol. 51, Jan. 1983, B. Cohen) รายงานว่า มีปริมาณยูเรเนียมทั้งโลก
ทั้งในน้ำทะเลและที่เปลือกโลก ให้ใช้ไปได้ประมาณ 5 พันล้านปี โดยประมาณการว่า
มีการใช้ยูเรเนียม 6,500 เมตริกตันต่อปี จึงถือเป็นแหล่งพลังงานที่มั่นคง สำหรับการนำมาใช้งาน 

พลังงาน Nuclear

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
(International Atomic Energy Agency—IAEA)
1. ภูมิหลัง IAEA

      1.1 IAEA ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการตรวจพิสูจน์นิวเคลียร์ (nuclear verification)  ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (nuclear safety) และส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ปัจจุบัน IAEA มีสมาชิกทั้งสิ้น 150 ประเทศ ประเทศสมาชิกล่าสุด คือ กัมพูชา และรวันดา (กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 แต่ขอถอนตัวเมื่อ 26 มี.ค. ค.ศ. 2003) ซึ่งได้รับการรับรองการเป็นสมาชิก IAEA ในการประชุมใหญ่ สมัยสามัญ ครั้งที่ 53 เมื่อเดือน ก.ย. 2552 ทั้งนี้ ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้ง IAEA
      

     1.2 กลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานของ IAEA ทั้งด้านการเมืองและเทคนิค คือ  การประชุมใหญ่ สมัยสามัญ (General Conference-GC) ซึ่งประเทศสมาชิกจะเข้าร่วมการประชุมปีละครั้ง ทั้งนี้ IAEA จะมีคณะกรรมการผู้ว่าการ (Board of Governors-BoG) ซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ สมัยสามัญ จำนวน 35 ประเทศ เป็นกลไกให้ข้อเสนอต่าง ๆ แก่ที่ประชุมใหญ่   สมัยสามัญ  ทั้งนี้ ล่าสุด การประชุมใหญ่ สมัยสามัญ ของ IAEA ครั้งที่ 53 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 กันยายน 2553 ณ กรุงเวียนนา ประเทสออสเตรีย โดยมี ออท.ผทถ. ณ กรุงเวียนนา เป็นหัวหน้าคณะ
      

     1.3 สำนักเลขานุการ (Secretariat) ของทบวงการฯ มีหน้าที่นำนโยบายและมติของ BoG / GC ไปปฏิบัติร่วมกับประเทศสมาชิก โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ
• ฝ่ายบริหารจัดการทั่วไป (Department of Management)
• ฝ่ายพิทักษ์การแพร่ขยายวัสดุนิวเคลียร์ (Department of Safeguards)
• ฝ่ายพลังงานนิวเคลียร์ (Department of Nuclear Energy)
• ฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัย ของการใช้พลังงานนิวเคลียร์(Department of Nuclear Safety and Security)
• ฝ่ายการประยุกต์วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (Department of Nuclear Sciences and Applications)
• ฝ่ายความร่วมมือทางวิชาการ (Department of Technical Cooperation)
      

     1.4 BoG จะประชุมร่วมกันปีละ 5 ครั้ง (เดือน มี.ค. มิ.ย. ก.ย. 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการประชุม GC และ ธ.ค.) เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานและนโยบายทางด้านการบริหารองค์กร เทคนิค ความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่าง IAEA กับประเทศสมาชิก รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty  -NPT) ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการในด้านต่าง ๆ ระหว่าง IAEA กับประเทศสมาชิก และหน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ
     

      1.5 ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA คนปัจจุบัน คือ นาย Yukiya Amano ชาวญี่ปุ่น ได้รับการแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2552 (ค.ศ. 2009) โดยถือเป็นผู้อำนวยการใหญ่ IAEA คนที่ 5 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมา (ไทยมีท่าทีสนับสนุน ออท. Amano ดำรงตำแหน่ง ผอ.ใหญ่ของ IAEA สืบต่อจากนาย Mohamed ElBaradei มาตั้งแต่ต้น)


2.  บทบาทของไทยในกรอบ IAEA

      2.1 ในฐานะสมาชิก IAEA ประเทศไทยมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามข้อมติต่างๆ ของ IAEA และปฏิบัติตามสนธิสัญญา อนุสัญญา รวมทั้ง ระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่ออกโดย IAEA ซึ่งในปัจจุบันมีดังนี้
- ความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the International Atomic Energy Agency for the Application of Safeguards in Connection with the Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons) ไทยลงนามและให้สัตยาบันแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ 2517 (ค.ศ 1974)
- พิธีสารเพิ่มเติม (Additional Protocol — AP) ของความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ (Safeguards Agreement) ไทยลงนามประเทศไทยลงนามในพิธีสารเพิ่มเติมโดยผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
- อนุสัญญาว่าด้วยการแจ้งเหตุทางนิวเคลียร์โดยเร็ว (Convention on Early Notification of a Nuclear Accident) ไทยลงนามเมื่อ 25 กันยายน 2530 และให้สัตยาบันเมื่อ 21 มีนาคม 2532 (สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน 2532)
- อนุสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์หรือเหตุฉุกเฉินทางรังสี (Convention on Assistance in the Case of Nuclear or Radiological Emergency) ไทยลงนามเมื่อ 25 กันยายน 2530 และให้สัตยาบันเมื่อ 21 มีนาคม 2532 (สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน 2532)
  นอกจากนี้ ไทยกำลังดำเนินการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาการป้องกันวัสดุนิวเคลียร์ (Convention on Physical Protection of Nuclear Materials) และอนุสัญญาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Convention on Nuclear Safety)
      

     2.2  คผถ. ณ กรุงเวียนนา เป็นหน่วยประสานงานของไทยกับ IAEA โดยมี สนง. ปรมาณูเพื่อสันติเป็น national focal point กับ IAEA และหน่วยงานต่างๆ ของไทย และไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมใหญ่สมัยสามัญของ IAEA ทุกปี โดยระยะหลังไทยเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือกับ IAEA เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความเข้าใจนโยบายก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย และความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้านพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการกับ IAEA ในการใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคบียร์ทางสันติ เช่น การแพทย์ สาธารณสุข การเกษตร
     

     2.3  ไทยเคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการ (Board of Governors-BoG) ในนามกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (SEAP) วาระ 2 ปี ระหว่าง ก.ย. 2549 – ก.ย. 2551
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก BoG ของ IAEA ที่สำคัญ คือ
  -  โดยที่ IAEA ซึ่งมีบทบาทหลักในการตรวจพิสูจน์นิวเคลียร์ จะต้องเสนอรายงานการตรวจพิสูจน์โครงการพัฒนานิวเคลียร์ของประเทศต่างๆ ให้ BoG พิจารณาในช่วงการประชุม BoG แต่ละครั้ง ดังนั้น ในฐานะสมาชิก BoG ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตรวจสอบการพัฒนานิวเคลียร์ของประเทศต่างๆ ว่ามีวัตถุประสงค์ในทางสันติหรือไม่ และไทยสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของไทยต่อปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านหรือเกาหลีเหนือทั้งในกรอบของ IAEA และเวทีการเมืองอื่นๆ ได้
  - ไทยแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ร่วมกับสมาชิก BoG ที่เหลืออีก 34 ประเทศ ในการเรียกร้องให้ประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนานิวเคลียร์ อาทิ อิหร่าน เกาหลีเหนือ ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ อาทิ สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of  Nuclear Weapons-NPT) และมาตรการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency (IAEA) Safeguards Agreement) สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty-CTBT)
  -  สร้างโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับ IAEA ด้านการสนับสนุนข้อมูล องค์ความรู้และความร่วมมือ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิ การใช้พลังงานนิวเคลียร์สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า การรักษาทางการแพทย์ การถนอมและรักษาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของไทยเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ในทางสันติและเพื่อพัฒนาประเทศเท่านั้น ขณะเดียวกันก็จะเป็นการแสดงบทบาทสร้างสรรค์ในการสนับสนุนภารกิจการดำเนินงาน ด้านเทคนิคของ IAEA อีกทางหนึ่ง


 ภาพโรงงาน Nuclear